ภาษาพาสนุก

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หัวใจภาษาไทย


ลักษณะของภาษาไทย

๑. ภาษาไทยแท้เป็นภาษาที่มีพยางค์เดียว เป็นพยางค์เดียวออกเสียงสั้นชัดเจน และมีวรรณยุกต์กำกับได้ เช่น ไก่ นก เป็ด เสือ ลิง เสื่อ นั่ง นอน

๒. ภาษาไทยแท้มีตัวสะกดตามมาตรา มาตราตัวสะกดของไทยมี ๘ มาตรา เช่น



  • แม่กก ใช้ "ก" เป็นตัวสะกด ได้แก่ ปีก ผัก ลาก ฯลฯ


  • แม่กบ ใช้ "บ" เป็นตัวสะกด ได้แก่ คีบ พับ รีบ ฯลฯ

แต่ถ้าภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาอื่น จะสะกดไม่ตรงตามมาตรา ได้แก่ พุธ รูป บาท เมฆ ก๊าช รัฐ ภาพ มาศ โรค ฯลฯ
๓. ภาษาไทยแท้ไม่มีการันต์ ยกเว้น ๓ คำนี้
ผิว์ แปลว่า หากว่า แม้ว่า
ม่าห์ แปลว่า ผี ยักษ์ อมนุษย์
เยียร์ แปลว่า งามยิ่ง งามเพริศพริ้ง

คำไหนมีตัวการันต์ ถือว่าไม่ใช่คำไทยแท้ เช่น ศุกร์ รักษ์ เสาร์ ฯลฯ
๔. คำเดียวมีความหมายหลายอย่าง คำ ๑ คำ มีความหมายหลายอย่างหน้าที่ของคำก็เปลี่ยนไปด้วย ต้องสังเกตบริบท เช่น
ฉันเห็นพระสงฆ์ฉันอาหารเพลอยู่
ฉัน คำแรกเป็นสรรพนาม ฉัน คำที่สองเป็นกริยา
๕. ภาษาไทยเป็นภาษาเรียงคำ ถ้าเปลี่ยนตำแหน่งคำความหมายจะเปลี่ยนไปด้วย เช่น น้ำดื่ม กับ ดื่มน้ำ , รับรอง กับ รองรับ ฯลฯ
๖. ภาษาไทยเป็นภาษาดนตรี คือ ภาษาไทยมีระดับเสียงสูงต่ำที่เราเรียกว่าวรรณยุกต์นั่นเอง ถ้าเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์จะเปลี่ยนความหมายด้วย เช่น เสือ เสื้อ คำ ค่ำ ค้ำ และยังการเน้นเสียงหนักเบาในแต่ละพยางค์ตามตำแหน่งของคำในประโยคนั้น ๆ อีกด้วย
๗. ภาษาไทยมีวรรคตอน ภาษาพูดมีจังหวะ วรรคตอนเป็นเรื่องสำคัญในภาษาไทย เช่น
- "เมื่อวานนี้ฝนตกที่บ้านของฉัน"
- "เมื่อวานนี้ฝน ตกที่บ้านของฉัน"

๘. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณนาม วางลักษณนามไว้ข้างหลังจำนวนนับหรือคำนาม เช่น ๒ ลูก สมุดเล่มนี้
๙. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับ ภาษาไทยนิยมใช้คำเหมาะแก่บุคคลโดยเฉพาะในเรื่องการคาราวะผู้อาวุโส ต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมกับวัย วุฒิ ลำดับญาติ ลำดับขั้นการปกครอง จนถึงขั้นสูงสุด จึงมีการใช้ราชาศัพท์ในภาษาไทย
๑๐. ภาษาไทยมีคำพ้องเสียง, พ้องรูป
คำพ้องเสียง คือ เสียงเหมือนกัน แต่ตัวอักษรที่เขียนต่างกันความหมายก็ต่างกัน เช่น
กาน = ตัดให้เตียน กาฬ = ดำ
กาล = เวลา การ = งาน
อ่านออกเสียง "กาน"

คำพ้องรูป คือ รูปเหมือนกัน แต่ออกเสียงต่างกัน เช่น
หวงแหน กับ จอกแหน ใบเสมา กับ ต้นเสมา
(แหน) (แหน) (เส-มา) (สะ-เหมา)

๑๑. ภาษาไทยมีคำแสดงอารมณ์ คือคำอนุภาคนั่นเอง เอาไว้เสริมท้ายประโยค เพื่อบอกความต้องการและความหมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น คะ ครับ จ๊ะ นะ เถิด ฯลฯ
๑๒. หน่วยของภาษาไทยมีจาก เล็ก ใหญ่ หน่วยเล็กที่สุดคือพยางค์ หน่วยที่ใหญ่ที่สุด คือ ประโยค-พยางค์-คำ-กลุ่มคำ(วลี)-ประโยค




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น