ภาษาพาสนุก

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แบบทดสอบภาษาไทยเพิ่มเติม

ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ภาษาไทย ม.1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
สาระการเรียนรู้พื้นฐาน ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
คำชี้แจง ข้อสอบมีทั้งหมด ๑๐๐ ข้อ (๑๐๐ คะแนน)
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
๑. ข้อใดไม่ใช่เรื่องที่ผู้แต่งกล่าวพรรณนาไว้ในนิราศเมืองแกลง
ก. ความงดงามของหญิงสาว ข. สภาพภูมิอากาศ
ค. ความยากลำบากในการเดินทาง ง. วัฒนธรรมประเพณีของชาวเมืองแกลง
๒. นิราศเมืองแกลงตั้งชื่อตามหลักเกณฑ์ในข้อใด
ก. ตั้งตามชื่อสถานที่ที่จะไป ข. ตั้งตามชื่อผู้แต่ง
ค. ตั้งตามชื่อตัวละครเอกของเรื่อง ง. ตั้งตามเหตุการณ์ในเรื่อง
๓. คำประพันธ์ข้อใดกล่าวพรรณนาเลียนเสียงธรรมชาติได้ไพเราะ
ก. ถึงวัดแจ้งแสงจันทร์จำรัสเรือง แลชำเลืองเหลียวหลังหลั่งน้ำตา
ข. ป่าแสมแลเห็นอยู่ริ้วริ้ว ให้หวิวหวิววาบวับฤทัยไหว
ค. เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย
ง. โอ้ชะนีเวทนาเที่ยวหาผัว เหมือนตัวพี่จากน้องให้หมองหมาง
๔. ข้อใดเป็นคุณค่าด้านสังคมที่ได้รับจากการอ่านเรื่องนิราศเมืองแกลงเกี่ยวกับการค้าขาย
ก. พอเจ้าของแตงโมปะโลปะเล สมคะเนกินแตงพอแรงกัน
ข. ถึงสำเพ็งเก๋งตั้งริมฝั่งน้ำ แพประจำจอดเรียงเคียงขนาน
ค. น้ำจะพัดปัดตีไปสีชัง แล้วคุ้มคลั่งเงี่ยนยาทำตาแดง
ง. ชะรอยกรรมทำสัตว์ให้พลัดพราย จึงแยกย้ายปิตุราชญาติกา
๕. พืชในข้อใดขึ้นอยู่ในน้ำกร่อยได้ดี
ก. มะม่วง ข. ขนุน
ค. ชมพู่ ง. ลำพู
๖. ข้อใดไม่ใช่ข้อคิดจากเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา
ก. ข้าราชการที่ดีต้องไม่คดโกง
ข. การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขทุกคนต้องไม่เบียดเบียนกัน
ค. การเกิดปัญหาอาชญากรรมเป็นเรื่องธรรมดา
ง. คนไทยไม่ควรมัวเมาเพลิดเพลินสนุกสนานจนเกินไป
๗. ศัพท์ในข้อใดมีความหมายตรงกับที่นอน
ก. บรรทม ข. บรรจถรณ์
ค. เขนย ง. มรณา
๘. กาพย์ชนิดใดที่บังคับจำนวนคำ ๒๘ คำต่อ ๑ บท
ก. กาพย์ยานี ข. กาพย์ฉบัง
ค. กาพย์สุรางคนางค์ ง. กาพย์พระไชยสุริยา
๙. เหตุที่ทำให้พระไชยสุริยาต้องเดือดร้อนจากการครองบ้านเมืองเพราะข้อใด
ก. ความยากจน ข. ถูกรุกรานจากเพื่อนบ้าน
ค. โอรส ธิดา ไม่ปรองดองกัน ง. ข้าราชการอำมาตย์ไม่มีธรรมะในใจ
๑๐. คำประพันธ์ในข้อใดใช้โวหารอุปมา
ก. กลางไพรไก่ขันบรรเลง ฟังเสียงเพียงเพลง ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง
ข. ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง เพลินฟังวังเวง อีเก้งเริงร้องลองเชิง
ค. พสุธาอาศัยไม่มี ราชานารี อยู่ที่พระแกลแลดู
ง. เขาสูงฝูงหงส์ลงเรียง เริงร้องซ้องเสียง สำเนียงน่าฟังวังเวง
๑๑. วรรณคดีเรื่องใดแต่งด้วยกลอนเพลงยาว
ก. นิราศเมืองแกลง ข. สุภาษิตอิศรญาณ
ค. พระอภัยมณี ง. กาพย์พระไชยสุริยา
๑๒. ตัวละครในข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องพระอภัยมณี
ก. สินสมุทร ข. โยคี
ค. เงือก ง. วานร
๑๓. “พระบิตุรงค์ทรงศักดิ์ก็รักใคร่
ด้วยเนื้อไขมิได้คิดริษยา
เฝ้าเลี้ยงลูกผูกเปลแล้วเห่ช้า
จนใหญ่กล้าอายุได้แปดปี”
จากคำประพันธ์ข้างต้น ผู้มีอายุ ๑๘ ปี คือใคร
ก. สินสมุทร ข. ศรีสุวรรณ
ค. สุดสาคร ง. สานนท์
๑๔. คำมี่ขีดเส้นใต้ในข้อ ๑๓ มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. แม่ ข. พ่อ
ค. พี่ ง. น้อง
๑๕. คำประพันธ์ต่อไปนี้ให้อารมณ์ความรู้สึกใด
“แล้วว่าแก่สินสมุทรสุดที่รัก แม้นนางยักษ์จะมารับจงกลับหลัง
อันตัวพ่อขอตายวายชีวัง กันแสงสั่งลูกยาด้วยอาลัย”
ก. อารมณ์โกรธ ข. อารมณ์เศร้า
ค. อารมณ์รัก ง. อารมณ์เกลียด
๑๖. ข้อใดคือแนวคิดหลักที่สุนทรภู่แสดงออกในเรื่องพระอภัยมณี
ก. การผจญภัยชีวิตของตัวละครเอกในเรื่อง
ข. การแสดงความสามารถของตัวละครต่างๆ ในเรื่อง
ค. การพรรณนาเกี่ยวกับธรรมชาติในท้องทะเล
ง. การแสดงความรักความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครในเรื่อง



๑๗. คำประพันธ์ต่อไปนี้ ข้อใดเป็นสัมผัสบังคับ
“พระฟังคำน้ำเนตรลงพรากพราก
คิดถึงยากยามวิโยคยิ่งโศกศัลย์
แถลงเล่าลูกยาสารพัน
จนพากันมาบรรทมที่ร่มไทร”
ก. พราก – พราก - , ยาก – ยาม – โยค
ข. พราก – ยาก , พราก – ยาม – โยค
ค. พราก – ยาก , ศัลย์ – พัน – กัน
ง. เล่า – ลูก , พัน – พา – กัน
๑๘. เรื่องพระอภัยมณีแต่งด้วยคำประพันธ์ใด
ก. กลอนหก ข. กลอนแปด
ค. กลอนนิราศ ง. กลอนดอกสร้อย
๑๙. โคลงโลกนิติจารึกไว้ที่วัดใด
ก. วัดพระแก้ว ข. วัดโพธิ์สามต้น
ค. วัดมหาธาตุ ง. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
๒๐. ข้อใดคือผู้รวบรวมโคลงโลกนิติของเก่ามาแก้ไขใหม่
ก. กรมพระยาเดชาดิศร ข. กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ค. กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ง. กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
๒๑. “สามสิ่งนี้เว้นไว้ แต่ผู้ทรชน” คำที่ขีดเส้นใต้หมายถึงข้อใด
ก. การให้, การอภัย, ความรัก ข. การให้, ความรัก, ความเห็นใจ
ค. การให้, การอภัย, ความเคารพ ง. การให้, ความรัก, ความเคารพ
๒๒. “นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช แช่มช้า”
คำประพันธ์นี้กล่าวตรงกับสำนวนใด
ก. เลือกนักมักได้แร่ ข. น้ำนิ่งไหลลึก
ค. หน้าเนื้อใจเสือ ง. ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
๒๓. ข้อใดกล่าวเปรียบเทียบไม่ถูกต้อง
ก. คำพูดของสาธุชนเปรียบเหมือนงาช้าง ข. คนขยันเรียนเหมือนกับฝนทั่งให้เป็นเข็ม
ค. ความรู้เปรียบได้กับสินทรัพย์ ง. จิตใจมนุษย์หยั่งยากเหมือนฟากฟ้า
๒๔. คำประพันธ์ประเภทโคลง วรรคที่มี ๔ คำ คือวรรคใด
ก. วรรคที่ ๒ ข. วรรคที่ ๔
ค. วรรคที่ ๖ ง. วรรคที่ ๘
๒๕. “ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา
หอมระรวยรสพา เพริศด้วย”
คำประพันธ์ข้างต้นกล่าวถึงคุณค่าของพืชชนิดใด
ก. ไม้กฤษณา ข. ใบพ้อ
ค. ต้นหอม ง. ใบพ้อพัน
๒๖. ในสุภาษิตโคลงโลกนิติกล่าวถึงคนที่รักกัน ตรงกับข้อใด
ก. คนรักกันย่อมให้อภัยกัน ข. คนรักกันมีแต่การให้
ค. คนรักกันต้องอยากอยู่ใกล้กัน ง. คนรักกันต้องซื่อสัตย์และเสียสละ
๒๗. สิ่งที่ผูกมัดได้แน่นและนานที่สุดที่กล่าวในสุภาษิตโคลงโลกนิติคือข้อใด
ก. โซ่ตรวน ข. ไมตรี
ค. เชือก ง. ความรัก
๒๘. ข้อใดไม่ใช่ข้อคิดที่ผู้อ่านได้รับเมื่ออ่านสุภาษิตโคลงโลกนิติจบลงแล้ว
ก. ความรู้เรื่องสุภาษิตคำพังเพยนำไปใช้ในชีวิตได้
ข. การอยู่ในสังคมได้ดีต้องรู้จักการปรับตัว
ค. ตัวอย่างจากชีวิตมนุษย์เป็นบทเรียนให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา
ง. บรรพบุรุษจะสั่งสอนเรื่องต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมา
๒๙. โคลงสี่สุภาพ ๑ บท มีคำสร้อยกำหนดไว้ที่ใด
ก. บาทที่ ๑ กับบาทที่ ๓ ข. บาทที่ ๑ กับบาทที่ ๔
ค. บาทที่ ๒ กับบาทที่ ๓ ง. บาทที่ ๒ กับบาทที่ ๔
๓๐. คำในข้อใดเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑
ก. สัปบุรุษ ข. ปราชญ์
ค. อัญขยม ง. สุขุม
๓๑. แนวคิดจากวรรณกรรมเรื่องสังข์ทอง ตอนพระสังข์ได้รจนาข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ลูกรักใครพ่อแม่ก็รักด้วย
ข. รูปร่างหน้าตามีความสำคัญมากกว่าฐานะ
ค. แม่อภัยให้ลูกเสมอแม้ว่าลูกจะทำให้เสียใจ
ง. คนที่แตกต่างกันมากๆ ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้นาน
๓๒. คำในข้อใดใช้สำหรับตัวละครเอกของเรื่องสังข์ทอง
ก. เมื่อนั้น ข. บัดนั้น
ค. ครานั้น ง. มาจะกล่าวบทไป
๓๓. วรรณคดีของอินเดียเรื่องใดที่มีเนื้อเรื่องตรงกับเรื่องรามเกียรติ์
ก. รามสูตร ข. รามายณะ
ค. มหาภารตะ ง. นารายณ์อวตาร
๓๔. ข้อใดไม่ได้หมายถึงพระราม
ก. พระหริวงศ์ ข. พระทรงกริช
ค. พระทรงจักร ง. พระทรงสุบรรณ
๓๕. ทศพักตร์มันลักพี่นางไป ไว้ในลงการาชฐาน คำที่ขีดเส้นใต้หมายถึงข้อใด
ก. ทศกัณฐ์ ข. พิเภก
ค. ไมยราพ ง. ไวยวิก
๓๖. “เคย” เป็นสัตว์ประเภทเดียวกับสัตว์ในข้อใด
ก. จักจั่น ข. แมงกระชอน
ค. กุ้ง ง. หอย


๓๗. คำประพันธ์ในข้อใดมีสัมผัสอักษรมากที่สุด
ก. แมงเม่าบินเข้าไฟฟอน ร้อยพันม้วยมรณ์
ข. น้ำลายงูเห่าเฝ้าฟอน ไต่ตอมตัวหนอน
ค. แมงดาสองเพศสองพรรณ คือแมงดาอรร-
ง. ไรไรร่ายร้องระดม หริ่งหริ่งระงม
๓๘. ข้อใดคือผู้ที่ “มันทำให้มนุษย์ถือดี ไม่มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่”
ก. ความเท็จ ข. ความหยิ่ง
ค. ความตระหนี่ ง. ความเกียจคร้าน
๓๙. คำว่า “บุพการี” หมายถึงบุคคลในข้อใด
ก. ปู่ - ย่า ข. ตา – ยาย
ค. พ่อ – แม่ ง. ลุง – ป้า
๔๐. กลอนสุภาพแตกต่างจากกลอนสักวาที่ใด
ก. คำนำ ข. สัมผัส
ค. เสียงวรรณยุกต์ ง. จำนวนคำในวรรค
๔๑. ข้อใดคืออุปกรณ์สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ก. โทรสาร ข. โทรศัพท์
ค. ซีดีรอม ง. คอมพิวเตอร์
๔๒. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของแผ่นป้ายอิเล็กทรอนิกส์
ก. เป็นพื้นที่ให้สมาชิกในเครือข่ายพูดคุยโต้ตอบกัน
ข. เป็นพื้นที่ให้สมาชิกได้แจ้งข่าวสารแก่กัน
ค. เป็นพื้นที่ให้สมาชิกในเครือข่ายตั้งกระทู้
ง. เป็นพื้นที่ให้สมาชิกในเครือข่ายส่งจดหมายถึงกัน



๔๓. สิรีจะปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องออกไปพูดรายงานหน้าชั้นเรียน
ก. แนะนำตัวแล้วเริ่มรายงาน
ข. แนะนำตัว บอกหัวข้อรายงาน เริ่มรายงาน
ค. แนะนำตัว เริ่มรายงาน สรุปหัวข้อรายงาน
ง. บอกหัวข้อรายงาน แนะนำตัว เริ่มรายงาน
๔๔. ข้อใดไม่ใช่มารยาทที่ดีในการพูด
ก. พูดด้วยวาจาสุภาพ หน้าตายิ้มแย้ม ข. รักษาอารมณ์ในการพูดให้เป็นปกติ
ค. พูดดังๆ เพื่อให้ผู้ฟังตั้งใจฟัง ง. ไม่พูดยกตนข่มท่าน
๔๕. ข้อใดเป็นคำเชิญชวน
ก. โปรดอย่าเดินลัดสนาม ข. ห้ามทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง
ค. กรุณาลดเสียง ง. ช่วยกันประหยัดวันนี้เพื่อชีวิตที่ดีในวันหน้า
๔๖. เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารถึงกันในสมัยก่อนคือข้อใด
ก. จดหมาย ข. โทรเลข
ค. โทรสาร ง. โทรศัพท์
๔๗. ข้อใดกล่าวถึงการย่อความได้ถูกต้อง
ก. อ่านก่อนย่อความหลายๆ ครั้ง
ข. ให้คงคำราชาศัพท์ไว้ดังเดิม
ค. ให้คงบทร้อยกรองไว้ตามเดิม
ง. ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นบุรุษที่ ๓
๔๘. จงเรียงลำดับหัวข้อเรียงความ เรื่อง วันลอยกระทง ให้ถูกต้อง
ก. คำจำกัดความของประเพณีลอยกระทง
ข. ความสนุกสนานในวันลอยกระทง
ค. จุดมุ่งหมายในการลอยกระทง
ง. ประเภทของกระทงที่นิยมทำ
ก. ก ข ค ง ข. ก ข ง ค
ค. ก ค ง ข ง. ก ง ข ค
๔๙. การใช้คำที่ดีในการเขียนเรียงความคือข้อใด
ก. ใช้คำศัพท์สูงๆ ข. ใช้คำอย่างหลากหลาย
ค. ใช้คำระดับภาษาปาก ง. ใช้คำสั้นๆ
๕๐. ข้อใดคือความหมายของคำไวพจน์
ก. คำที่มีรูปเขียนเหมือนกัน
ข. คำที่มีเสียงอ่านเหมือนกัน
ค. คำที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกัน
ง. คำที่มีความหมายคล้ายกัน
๕๑. ข้อใดใช้คำถูกต้อง
ก. เมฆถูกกับอากาศทางภาคเหนือมากกว่าภาคอื่น
ข. คนใจคับแคบย่อมไม่อยากเห็นคนอื่นดีกว่าตน
ค. เขาเขียนคำตอบผิดพลาดไปข้อเดียว
ง. เพื่อนฉันติดใจธรรมชาติที่ต่างประเทศมาก
๕๒. ข้อใดผู้พูดพูดได้เหมาะสมที่สุด
ก. เป็นไงสอบตกอีกแล้วเหรอ
ข. ถ้าเธออ่านหนังสือมากกว่านี้เธอก็ได้คะแนนดีเหมือนกัน
ค. เธอนี่สอนเท่าไหร่ไม่รู้จักจำ
ง. ผู้หญิงคนนี้แต่งตัวเหมือนกาคาบพริก
๕๓. ข้อใดไม่ควรนำมาเป็นหัวข้อสนทนา
ก. เรื่องความสวยความงาม ข. เรื่องดินฟ้าอากาศ
ค. เรื่องศาสนา ง. เรื่องอาหารการกิน
๕๔. ข้อใดคือประโยชน์ของการเขียนเลขไทย
ก. ทำให้มีสมาธิเพิ่มขึ้น
ข. ช่วยเปลี่ยนบรรยากาศในการเขียนตัวเลข
ค. ฝึกให้มีลายมือที่สวยงาม
ง. ช่วยอนุรักษ์ศิลปะในการเขียนตัวเลขของไทย

ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ๕๕ – ๕๗
ปัจจุบันได้มีผู้คิดค้นหาวิธีการรักษาโรคต่างๆ โดยใช้น้ำที่ทำจากผักผลไม้ ธัญพืชต่างๆ น้ำสมุนไพรบางชนิดจะดื่มลำบากในช่วงแรกของการดื่ม อาจจะทำให้รู้สึกอึดอัด เนื่องจากรสชาติไม่ค่อยตรงรสนิยมของผู้ดื่ม แต่จะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น วิธีดื่มที่ดี ควรดื่มแบบจิบช้าๆ และควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ
๕๕. ข้อใดเป็นข้อสรุปสุดท้ายของข้อความนี้
ก. วิธีดื่มน้ำสมุนไพรที่ดีคือดื่มแบบจิบช้าๆ
ข. น้ำที่ทำจากผัก ผลไม้ ธัญพืชต่างๆเป็นน้ำสมุนไพร
ค. ปัจจุบันมีผู้คิดค้นหาวิธีการรักษาโรคต่างๆ
ง. น้ำสมุนไพรบางชนิดจะดื่มลำบากในช่วงแรก
๕๖. เหตุใดการดื่มน้ำสมุนไพรในช่วงแรกจะทำให้รู้สึกอึดอัด
ก. ผู้ดื่มเป็นโรค ข. ผู้ดื่มไม่ชอบ
ค. ผู้ดื่มไม่เคยดื่มมาก่อน ง. ผู้ดื่มไม่กล้าดื่ม
๕๗. ข้อความใดเป็นข้อเท็จจริง
ก. ช่วงแรกของการดื่มอาจจะทำให้รู้สึกอึดอัด
ข. น้ำสมุนไพรบางชนิดจะดื่มลำบากในช่วงแรก
ค. การดื่มที่ดีควรดื่มแบบจิบช้าๆ จะดีกว่าดื่มเร็วๆ
ง. น้ำที่ทำจากผัก ผลไม้ ธัญพืชต่างๆ คือน้ำสมุนไพร
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วแสดงความคิดเห็นข้อ ๕๘ – ๖๐
แม้ว่าขณะนี้จะมีรัฐบาลใหม่ นำโดย พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศเรียบร้อยแล้ว แต่กฎอัยการศึกก็ยังไม่ยกเลิก ล่าสุด พล.อ. สนธิ บุญย-รัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติที่แปรสภาพจากหัวหน้า ค.ป.ค. ได้บอกแบบเข้มๆ ว่า “หากประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกไปแล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นมาจะแก้ยาก ดังนั้น ... ประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกเมื่อทุกอย่างต้องปลอดภัยเรียบร้อยเพื่อให้ประชาชนไม่เกิดปัญหากัน
(มติชน ๑๒ ต.ค. ๒๕๔๙)
๕๘. ข้อใดคือใจความสำคัญของบทความนี้
ก. การสรรหานายกรัฐมนตรี
ข. การประกาศกฎอัยการศึก
ค. การบริหารประเทศ
ง. ความปลอดภัยของบ้านเมือง
๕๙. ข้อใดคือคำเต็มของอักษรย่อ ค.ป.ค.
ก. คณะปฏิรูปการปกครอง
ข. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
ค. คณะปฏิรูปความมั่งคงแห่งชาติ
ง. คณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๖๐. ข้อใดคือสภาพบ้านเมืองในข้อความนี้
ก. บ้านเมืองกลับเข้าสู่เหตุการณ์ปกติแล้ว
ข. บ้านเมืองยังมีเหตุการณ์ร้ายแรงอยู่
ค. บ้านเมืองยังไม่เรียบร้อยปลอดภัยดี
ง. บ้านเมืองยังต้องการผู้นำใหม่
๖๑. สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
ข้อความนี้เปรียบเทียบความหวานของสิ่งใดมากที่สุด
ก. คำพูด ข. ความหอม
ค. ความดี ง. ความหวาน
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๖๒ – ๖๔
“หากจะเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ คือริ้วกระบวนเรือสวยงาม เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เคลื่อนลอยไปตามลำน้ำเจ้าพระยา พร้อมๆ กับที่ฝีพายร้องเห่เรืออย่างไพเราะ เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค”
(สารานุกรมไทยฉบับเยาวชนฯ เล่ม ๒๑)


๖๒. ข้อใดไม่เป็นคำราชาศัพท์
ก. เสด็จพระราชดำเนิน ข. พระที่นั่งอนันตนาคราช
ค. ริ้วกระบวน ง. กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
๖๓. จุดมุ่งหมายในการอ่านข้อความนี้ คือข้อใด
ก. เพื่อหาความรู้ ข. เพื่อหาความบันเทิง
ค. เพื่อหาข่าวสาร ง. เพื่อหาความสุขกาย สุขใจ
๖๔. ฝีพาย คือใคร
ก. คนคุมเรือ ข. คนพายเรือ
ค. คนโบกธงเรือ ง. คนพายเรือและร้องเห่เรือ
๖๕. “น้องกินขนมไหม
ไม่กิน (น้องสั่นศีรษะ)”
ข้อความนี้น้องใช้ภาษาในข้อใดสื่อสาร
ก. ภาษาถิ่น ข. ภาษาสแลง
ค. อวัจนภาษา ง. วัจนภาษา
๖๖. จากข้อความในข้อ ๖๕. ผู้ถามคือใคร
ก. พ่อ ข. แม่
ค. เพื่อน ง. พี่
๖๗. ข้อใดคือภาษาถิ่นภาคเหนือที่หมายถึง “อร่อย”
ก. รำ ข. แซ่บ
ค. หร่อย ง. อร่อย
๖๘. ข้อใดคือเพลงประกอบการเล่นของเด็ก
ก. กาเหว่า ข. วัดโบสถ์
ค. ไอ้เข้ไอ้โขง ง. นอนสาเด้อ


๖๙. “เอ้อระเหยลอยมา ขอถามว่าหนูทำได้ไหม”
ข้อความนี้เป็นเพลงพื้นบ้านในข้อใด
ก. เพลงฉ่อย ข. เพลงพวงมาลัย
ค. เพลงเรือ ง. เพลงกล่อม
๗๐. “มาเถิดเอย เอ๋ยมา พ่อมา มาสิมา พ่อมา
ฝนกระจายที่ปลายนา แล้วน้องจะมาอย่างไรเอย”
ข้อใดคืออาชีพที่กล่าวถึงในบทเพลงนี้
ก. ค้าขาย ข. รับราชการ
ค. นักร้อง ง. เกษตรกร
๗๑. ข้อใดอ่านไม่ถูกต้อง
ก. ชนมายุ อ่านว่า ชน – มา – ยุ
ข. กาฬปักษ์ อ่านว่า กา – ละ – ปัก
ค. พืชมงคล อ่านว่า พืด – ชะ – มง – คน
ง. มูลนิธิ อ่านว่า มูน – ละ – นิ – ทิ
๗๒. ข้อใดอ่านถูกต้อง
ก. ญาติวงศ์ อ่านว่า ยาด – วง
ข. นิรโทษกรรม อ่านว่า นิ – ระ – โทด – สะ – กำ
ค. พรรณนา อ่านว่า พัน – นา
ง. ธรรมาสน์ อ่านว่า ทัน – มาด
๗๓. ข้อใดคือผลเสียที่สำคัญที่สุดของการออกเสียงอ่านผิด
ก. ทำให้เป็นที่ขบขัน ข. ทำให้เขียนผิด
ค. ทำให้ผู้อื่นดูหมิ่น ง. ทำให้ถูกล้อเลียน
๗๔. ข้อใดคือคำของเสียงว่า “โตนั้น”
ก. ชิ้นนั้น ข. อันนั้น
ค. ตัวนั้น ง. แท่งนั้น

๗๕. ข้อใดอ่านออกเสียงแบบตัดคำหรือย่อคำ
ก. ผม ข. อย่าง – นี้
ค. โก - หก ง. เดี๊ยน
๗๖. ข้อใดไม่ใช่คำมูลพยางค์เดียว
ก. ร้อน ข. นอน
ค. บาตร ง. นะ
๗๗. ข้อใดเป็นคำประสมทั้ง ๒ คำ
ก. น้ำปลา, ต้มยำ ข. หลายใจ, กินนะ
ค. กินใจ, แม่เฮย ง. รถเมล์, สมเพช
๗๘. ข้อใดคือเครื่องหมายบุพสัญญา
ก. ( ) ข. ๆ
ค. “ ง. ฯลฯ
๗๙. ข้อใดไม่จัดเป็นคำสมาส
ก. จิตรกร ข. จำแนก
ค. วุฒิบัตร ง. กุลธิดา
๘๐. ข้อใดเป็นอักษรควบแท้ทุกคำ
ก. สล้าง เสริม ปราการ ข. ความ เกรียง ผลาญ
ค. จริง ตรู่ ตรัส ง. ผลิต จันทรา ปราชัย
๘๑. ข้อใดเป็นคำตายทุกคำ
ก. มะตะบะ มะระ ข. แตงกวา ส้มโอ
ค. มะม่วง กล้วยหอม ง. ลิ้นจี่ มังคุด
๘๒. ข้อใดผันได้ครบห้าเสียง
ก. ขึ้น ข. ค้า
ค. ขา ง. ป้า
๘๓. ข้อใดมี ๓ พยางค์
ก. ตรึกตรอง ข. กาลเวลา
ค. กรมท่า ง. ยุโรป
๘๔. เสียงพยัญชนะใดที่มีรูปพยัญชนะมากที่สุด
ก. เสียง ท ข. เสียง ช
ค. เสียง ข ง. เสียง ซ
๘๕. ผู้ประดิษฐ์อักษรไทยคือใคร
ก. พระยาลิไท ข. พ่อขุนรามคำแหง
ค. สมเด็จพระนารายณ์ ง. สมเด็จพระนเรศวร
๘๖. ข้อใดคือการเขียนอักษรไทยที่ถูกต้อง
ก. เขียนให้มีช่องไฟห่างกันมากๆ ข. เขียนตัวโตๆ ให้อ่านง่าย
ค. เขียนตามความถนัด ง. เขียนหัวอักษรก่อนเสมอ
๘๗. ข้อใดเป็นคำย่อของคำว่าการศึกษามหาบัณฑิต
ก. ศม.บ. ข. ศ.ม.บ.
ค. กศ.ม. ง. ก.ศ.ม.
๘๘. ข้อใดเขียนอักษรย่อผิด
ก. ผอ. ย่อมาจาก ผู้อำนวยการ ข. ป.ล. ย่อมาจาก ปัจฉิมลิขิต
ค. ผจก. ย่อมาจาก ผู้จัดการ ง. กท.ม. ย่อมาจาก กรุงเทพมหานคร
๘๙. ข้อใดไม่ใช่มารยาทการอ่านที่ดีในห้องสมุด
ก. ให้เกียรติอ้างอิงผู้เขียนเมื่อนำข้อความนั้นไปอ้างอิง
ข. อ่านออกเสียงถูกต้อง ชัดเจน
ค. จับหนังสืออ่านอย่างระมัดระวัง
ง. เลือกอ่านหนังสือที่มีประโยชน์ต่อตนเอง


๙๐. ข้อใดคืออักษรที่อยู่ระหว่าง ถ และ ธ
ก. ท ข. ด
ค. ม ง. ล
๙๑. ข้อใดเรียงคำตามหลักพจนานุกรมถูกต้อง
ก. กล่อง กลอง ข. ปราศ ปรบ
ค. จรด จรวด ง. ป๋า ป่า
๙๒. ข้อใดคือประโยชน์ของสารานุกรม
ก. ใช้ค้นหาความหมายของคำ ข. ใช้ค้นหาประวัติและที่มาของคำ
ค. ใช้ค้นหาคำตอบของปัญหาทั่วๆ ไป ง. ใช้ค้นหาการเขียนสะกดคำที่ถูกต้อง
๙๓. ข้อใดใช้ลักษณนามถูกต้อง
ก. แห ๑ ปาก ข. โครงการ ๕ อย่าง
ค. ช้าง ๒ ตัว ง. โรงเรียน ๒ โรง
๙๔. “โคคา โคล่า” เป็นคำนามชนิดใด
ก. สามานยนาม ข. วิสามานยนาม
ค. สมุหนาม ง. ลักษณนาม
๙๕. ประโยคใดมีคำสันธานที่คล้อยตามกัน
ก. เขาชอบความลำบากหรือความสบาย ข. เธอไม่สวยแต่ฉลาด
ค. เขาเกียจคร้านจึงทำให้เขายากจน ง. พี่และน้องอยู่โรงเรียนเดียวกัน
๙๖. ข้อใดใช้บุพบทผิด
ก. พวกเรามอบดอกไม้แก่คุณครู ข. คนเราต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ค. เมื่อคืนฝนตกหนัก ง. เราต้องทำงานหนักเพื่อกินดีอยู่ดี
๙๗. ข้อใดมีคำอุทาน
ก. ฉันทำตัวให้ลำบากเอง ข. อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคน
ค. โอ้ว่าอนิจจาความรัก ง. นกน้อยทำรังแต่พอตัว
๙๘. กริยาข้อใดไม่ต้องมีกรรมมารับ
ก. คนขับรถประจำทาง ข. นายพรานล่าสัตว์
ค. แม่ค้าขายข้าวแกง ง. วันนี้อากาศดี
๙๙. ข้อใดไม่ใช่คำวิเศษณ์ทั้ง ๒ คำ
ก. สูง ใหญ่ ข. ฉุน แบน
ค. แด่ สำหรับ ง. ใกล้ เหนือ
๑๐๐. “เพราะ” ในข้อใดไม่ใช่คำวิเศษณ์
ก. นักร้องคนนี้ร้องเพลงเพราะมาก ข. เขาร้องเพลงได้ดีเพราะมีผู้ฝึกสอนดี
ค. เพลงในเทปนี้เพราะมาก ง. เพลงเพราะเนื่องจากนักร้องมีน้ำเสียงดี













ชุดที่ ๑
เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
สาระการเรียนรู้พื้นฐาน ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
คำชี้แจง ข้อสอบมีทั้งหมด ๑๐๐ ข้อ (๑๐๐ คะแนน)
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
๑. ก. ๒. ก. ๓. ค. ๔. ข. ๕. ง.
๖. ค. ๗. ข. ๘. ค. ๙. ง. ๑๐. ก.
๑๑. ข. ๑๒. ง. ๑๓. ก. ๑๔. ข. ๑๕. ข.
๑๖. ก. ๑๗. ค. ๑๘. ข. ๑๙. ง. ๒๐. ก.๒๑. ง. ๒๒. ข. ๒๓. ง. ๒๔. ง. ๒๕. ก.๒๖. ค. ๒๗. ข. ๒๘. ง. ๒๙. ก. ๓๐. ค.
๓๑. ค. ๓๒. ก. ๓๓. ข. ๓๔. ข. ๓๕. ก.
๓๖. ค. ๓๗. ง. ๓๘. ข. ๓๙. ค. ๔๐. ก.
๔๑. ง. ๔๒. ก. ๔๓. ข. ๔๔. ค. ๔๕. ง.
๔๖. ก. ๔๗. ข. ๔๘. ค. ๔๙. ข. ๕๐. ง.
๕๑. ก. ๕๒. ข. ๕๓. ค. ๕๔. ง. ๕๕. ก.
๕๖. ข. ๕๗. ง. ๕๘. ข. ๕๙. ง. ๖๐. ค.
๖๑. ก. ๖๒. ค. ๖๓. ก. ๖๔. ง. ๖๕. ค.
๖๖. ง. ๖๗. ก. ๖๘. ค. ๖๙. ข. ๗๐. ง.
๗๑. ก. ๗๒. ข. ๗๓. ข. ๗๔. ค. ๗๕. ง.
๗๖. ง. ๗๗. ก. ๗๘. ค. ๗๙. ข. ๘๐. ก.
๘๑. ก. ๘๒. ง. ๘๓. ค. ๘๔. ก. ๘๕. ข.
๘๖. ง. ๘๗. ค. ๘๘. ง. ๘๙. ข. ๙๐. ก.
๙๑. ค. ๙๒. ค. ๙๓. ก. ๙๔. ข. ๙๕. ง.
๙๖. ก. ๙๗. ค. ๙๘. ง. ๙๙. ค. ๑๐๐. ข.

2 ความคิดเห็น: